บริษัท มาย หมู่บ้าน จำกัด SGOC (Security Guard Operations Center) นวัตกรรมการบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ
บริษัท มาย หมู่บ้าน จำกัด คือผู้พัฒนา Platform ด้าน Smart Community อย่างครบวงจร โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2561 โดยประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของชุมชนในประเทศไทย
ซึ่งปัจจุบัน มาย หมู่บ้าน ได้ต่อยอดเข้าสู่ เฟสที่ 2.0 โดยได้มุ่งเน้นพัฒนา Platform สำหรับงานด้านการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ ซึ่งมีชื่อว่า SGOC โดยเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานการรักษาความปลอดภัยให้เป็น Smart Security อย่างเต็มรูปแบบ
โดย SGOC ย่อมากจาก Security Guard Operation Center ซึ่งวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีนี้ เพื่อเป็นการยกระดับการบริหารจัดการงานรักษาความปลอดภัยในต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่ประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยถือเป็นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ซึ่งตัวระบบจะทำการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบคลาวด์ และได้รับความเชื่อมั่นจาก บริษัทรักษาความปลอดภัยชั้นนำ ตลอดจนโครงการใหญ่ ๆ มากมายที่ได้นำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ เพื่อตอบโจทย์ Digital Lifestyle และเพิ่มศักยภาพ ตลอดจนสร้างจุดขายให้กับงานบริการด้านความปลอดภัยแบบมืออาชีพ
ซึ่งในโอกาสนี้ Security Systems Magazine ได้รับเกียรติจาก Mr.Henry Ong ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาย หมู่บ้าน จำกัด ในการที่จะเปิดเผยถึงนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยของชุมชน ตลอดไปจนถึงแนวคิดของการสร้าง Community Platform ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
เป้าหมายการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ชุมชน
ความมุ่งมั่นของ มาย หมู่บ้าน คือการสร้าง Community Platform ที่จะยกระดับวิถีชีวิตของคนในชุมชนให้มีความสะดวกสบาย ปลอดภัย และมีสุขภาพดี โดยจะเป็นชุมชนอัจฉริยะ ที่ผู้คนนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมทุกบริบท และจะเป็นต้นแบบของ Digital Lifestyle แห่งอาเซียน
“เราต้องการให้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน ภายใต้การบริหารจัดการด้วย Platform ของเราได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยเป้าหมายที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2023 ก็คือ นวัตกรรมของเราจะช่วยเสริมพลังให้กับเจ้าหน้าที่กว่า 200,000 คน ซึ่งปฏิบัติงานในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น รปภ. นิติบุคคล ช่าง รวมถึงพนักงานทำความสะอาด และคาดว่า จะมีประชาชนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมของ มาย หมู่บ้าน ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน”
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ มาย หมู่บ้าน มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือคนที่ขาดโอกาสในสังคม…
“ผมเห็นคนพิการในประเทศไทยเยอะมาก ซึ่งผมมีความตั้งใจที่จะเสริมพลังให้กับคนพิการเหล่านี้ ผมอยากจะสร้างงานให้กับคนพิการสัก 10,000 คน ให้ได้มีอาชีพ ภายใต้ Digital Platform ของเรา” Mr.Henry กล่าว
เทคโนโลยีที่โดดเด่นและสร้างความไว้วางใจ
ปัจจุบัน มาย หมู่บ้าน ได้มีผลงานมาแล้วประมาณ 200 โครงการ โดยเน้นไปที่การทำ Operation Platform ให้กับหน่วยงาน BPO Business Process Outsourcing ไม่ว่าจะเป็น รปภ. นิติบุคคล ช่าง และพนักงานทำความสะอาด และเมื่อคิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของจำนวนทั้งหมด จะพบว่าเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงาน รปภ. เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รปภ. เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุด ทำงานหนักที่สุด รวมถึงเป็นหน่วยงานที่ได้งบประมาณสูงกว่าทุกหน่วยงาน
“ในอดีตการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วงงาน รปภ. นั้น จะเน้นที่แรงงานคนเป็นหลัก โดยไม่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้มากนัก ซึ่งการที่ มาย หมู่บ้าน ได้เข้าไปทำงานร่วมด้วยนั้น ถือเป็นการยกระดับศักยภาพของระบบงานรักษาความปลอดภัยจากที่เป็นอยู่เดิมในอดีตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังถือเป็นจุดขายที่สำคัญ ทำให้บริษัทรักษาความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยีของเรามีความโดดเด่น และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากยิ่งขึ้น”
เทคโนโลยีเพื่อการบริหารระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ
“โดยพื้นฐานการทำงานของ รปภ. เราจะมีเครื่องมือสองส่วน คือ Guard Panel ซึ่งถูกติดตั้งไว้ที่ป้อม รปภ. กับ Guard Talk สำหรับให้เจ้าหน้าที่ใช้ในช่วงเวลาออกลาดตระเวน ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองส่วนนี้สามารถทำงานรวมกันได้ในทุกฟังชั่นของการดูแลชุมชน ภายใต้เทคโนโลยี SGOC (Security Guard Operations Center) ซึ่งจะทำให้ทุก ๆ ขั้นตอนของการรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบการทำงานจะสั่งการผ่านแล็ปท็อปหรือสมาร์ทโฟน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บแบบ Digital บน Cloud ซึ่งสามารถเรียกดูหรือตรวจสอบย้อนหลังได้ทุกเวลา”
ระบบ SGOC มีความสามารถในการบริหารจัดการภาระงานของ รปภ. ครอบคลุม ทั้ง 6 ด้าน คือ
- ระบบบันทึกผู้มาติดต่อ (Visitor Management Systems)
- ระบบการจัดการพัสดุ (Parcel Management Systems)
- ระบบการลงเวลาทำงาน (Guard Attendance Systems)
- การสแกนตรวจจุด (Guard Patrol Scan)
- การรายงานเหตุการณ์ต่างๆ (Incident Report Systems)
- ระบบการคำนวณค่าจอดรถ (Car Parking Fees)
Guard Panel จะเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ที่ป้อม รปภ. ซึ่งเป็นเสมือนจุดบัญชาการ เพราะเทคโนโลยีทั้งหมดจะสามารถบัญชาการได้ที่หน้าป้อม และสอดส่องดูแลความปลอดภัยได้ตลอดเวลา ในขณะเจ้าหน้าที่ รปภ. ออกลาดตระเวนก็จะไปพร้อมกับ Guard Talk ซึ่งจะทำงานร่วมกับ Smart CCTV
“อย่างที่เราทราบกันดีว่าเรื่องของ Smart Security จะขาด CCTV ที่เป็นอัจฉริยะไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ในพื้นที่ส่วนบุคคล CCTV ยังไม่มี AI ดังนั้นผมจึงได้พัฒนาระบบขึ้นมาช่วยแก้ปัญหานี้ ซึ่งเป็น Video Analytic พร้อม AI จึงทำให้พื้นที่ตรงนั้นสามารถอัพเกรด CCTV ตัวเดิมที่เป็นแบบ IP Camera ให้กลายเป็น Smart CCTV ได้เลย โดยเราสามารถที่จะเชื่อมระบบเข้ากับ Operations Platform จนกลายเป็นระบบ Smart Security Management Solutions ที่สมบูรณ์ได้ โดยถือเป็นการลดต้นทุน เพราะเราต่อยอดเอาจาก CCTV เดิมที่มีอยู่แล้วในพื้นที่”
เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงที่มาพร้อมกับราคาที่จับต้องได้
“มาย หมู่บ้าน เข้าใจดีว่าการที่ Smart Security จะเกิดขึ้นได้จริงนั้น จะต้องประกอบด้วย รปภ. ที่มีทักษะความสามารถในการใช้งาน Platform ประกอบกับต้องมี Smart CCTV ซึ่งเราก็สามารถปรับให้เป็น AI ได้ และที่สำคัญที่สุด เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องมีราคาที่จับต้องได้ คือราคาไม่แพงจน Smart Security กลายเป็นแค่เรื่องในอุดมคติที่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นจริงได้”
ซึ่งที่ผ่านมา มาย หมู่บ้าน ประสบความสำเร็จในภารกิจเพิ่มขีดความสามารถด้านระบบการรักษาความปลอดภัยให้โครงการใหญ่ ๆ มากมาย เช่น นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ ต่าง ๆ ซึ่งดูแลพื้นที่กว้างใหญ่หลายร้อยไร้ ในขณะที่ลูกค้าก็สามารถเลือกลงทุนเริ่มต้นเพียงหลักหมื่นเท่านั้น เพราะรูปแบบของ มาย หมู่บ้าน ไม่ใช่รูปแบบของการซื้อมาขายไป แต่จะเป็นแบบจ่ายรายเดือน ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้า เนื่องจากไม่ใช่การลงทุนด้วยเงินมหาศาลในครั้งเดียว
นอกจากนี้ในส่วนของบริษัทรักษาความปลอดภัย การเพิ่มโซลูชั่นของ มาย หมู่บ้านเข้าไป ยังถือเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างจุดขาย และเป็นสิ่งที่ช่วยให้ชนะการประมูลงานมาแล้วในหลาย ๆ โครงการอีกด้วย
อย่างที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า เป้าหมายของ มาย หมู่บ้าน คือการสร้างงานให้กับคนพิการประมาณ 10,000 คน ภายใน 3 ปีข้างหน้า
“ผมได้ทำความร่วมมือกับศูนย์ฝึกอบรมคนพิการซึ่งเป็นศูนย์เพิ่มศักยภาพคนพิการทางด้านไอที ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย เราก็ได้ให้คนเหล่านี้มีโอกาสมาเป็นเจ้าหน้าที่ในการดูแลระบบหลังบ้านของเรา”
“เพราะตามกฎหมายแรงงาน กำหนดว่า บริษัทฯ ที่ว่าจ้างพนักงาน 100 คน จะต้องมีการจ้างคนพิการ 1 คน แต่โดยปกติแล้ว บริษัทฯ ด้านการรักษาความปลอดภัยนั้น จะมีพนังงานประมาณ 400-500 คน ในขณะที่บริษัทฯ รักษาความปลอดภัยเหล่านี้ก็ไม่ได้มีการจ้างคนพิการมาทำงาน เพราะลักษณะงานอยู่นอกเหนือขีดความสามารถ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนคนพิการตามข้อบังคับของกฎหมาย ซึ่งถ้าบริษัทฯ มีพนักงาน 500 คน ใน 1 ปีก็จะต้องจ่ายเงินสมทบไปถึง 6 แสนบาทเลยทีเดียว แต่ด้วยระบบนี้ ก็จะถือเป็นการสร้างโอกาสที่จะดึงศักยภาพของคนพิการให้มาทำงานร่วมกับบริษัทฯ รักษาความปลอดภัยได้ โดยมีหน้าที่ในการดูแลระบบหลังบ้าน ซึ่งแปลว่าทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์”
สิ่งที่อยากฝากทิ้งท้าย
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงความสามารถบางส่วนของ Operations Platform ที่ได้นำเสนอไป แต่ Platform ของ มาย หมู่บ้าน ยังสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลากหลายประเภทงาน เช่น ในห้างสรรพสินค้า โรงแรม ท่าเรือ บริษัทโลจิสติกส์ เป็นต้น
“สุดท้ายนี้ ผมอยากจะบอกว่า เรื่องของเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นโอกาสของการปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม และเรื่อง Smart City ไม่ได้เป็นแค่เรื่องในเมือง เพราะประโยชน์ของดิจิตอลนั้นไม่มีขีดจำกัด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ซึ่ง มาย หมู่บ้าน เชื่อในสิ่งนี้ จึงมีความตั้งใจว่าจะทำให้ชุมชนห่างไกลได้รับประโยชน์ จาก Digital Lifestyle ด้วย”
“โดยในอนาคต หากเราส่งเสริมเรื่อง SGOC ครบ 500 หมู่บ้านแล้ว เราก็มีแผนที่จะนำเสนอ Platform ใหม่ที่จะช่วย SME หรือเกษตรกร ซึ่งอยู่ในชนบทเพื่อให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมของเราด้วย” Mr.Henry Ong กล่าวทิ้งท้าย